ส.1 สืบค้น


การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปลรูป จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการออกแบบส่วนบุคคล วุ้นนมข้าวโพด


ส.1 สืบค้น (Researh)

การใช้ประโยชน์ของข้าวโพด
เมล็ดข้าวโพด และส่วนต่างๆ ของข้าวโพดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง อาจแบ่งการใช้ ออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. ใช้เป็นอาหารมนุษย์
      ในประเทศไทย ประชาชนนิยมรับประทานฝักสดของข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าว โพดไร่โดยการต้ม หรือเผาให้สุกเสียก่อน นอกจากนั้น ฝักอ่อนของข้าวโพดยังนิยมรับประทานกันอย่าง แพร่หลาย นับเป็นผักชนิดหนึ่งที่นำมาปรุงอาหาร นอกจากจะรับประทานในประเทศแล้ว ยังบรรจุกระป๋อง ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นอุตสาหกรรมชนิดหนึ่งด้วย
         ประชาชนในบางประเทศ อาศัยบริโภคข้าวโพดเป็นอาหารหลักในรูปต่างๆ กัน เช่น ในอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ใช้แป้งบดจากเมล็ดแก่มาทำเป็นแผ่นนึ่ง หรือย่างให้สุก รับประทานกับอาหารอื่นคล้ายกับ การรับประทานขนมปัง ในฟิลิปปินส์นิยมตำเมล็ดข้าวโพดแก่ให้แตกเป็นชิ้นเล็กเท่าๆเมล็ดข้าวแล้วต้มรับ ประทานแทนข้าว

๒. ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม
      เมล็ด และผลิตผลจากเมล็ดข้าวโพด สามารถนำไปใช้ในการอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เช่น ทำแอลกอฮอล์ แป้ง น้ำตาลชนิดต่างๆ น้ำเชื่อม และน้ำมัน ผลิตผลเหล่านี้ อาจนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อีกต่อหนึ่ง เช่น ยารักษาโรค กระดาษ กระดาษแก้ว ผ้าสังเคราะห์ กรด น้ำหอม น้ำมันใส่ผม และแบตเตอรี่ นอกจากเมล็ดแล้ว พวกฝัก ใบ และลำต้นอาจนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ได้หลาย ชนิด เช่น กระดาษ ปุ๋ย และฉนวนไฟฟ้า

๓. ใช้เป็นอาหารสัตว์
         ข้าวโพดนับเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดีชนิดหนึ่ง การใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อาจทำได้หลาย อย่าง  เช่น ใช้เมล็ด กากน้ำตาล กากแป้งที่เหลือจากสกัดน้ำมัน ตัดต้นสดให้สัตว์กินโดยตรง ตัดต้นสด หมัก และใช้ต้นแก่หลังเก็บเกี่ยวฝักแล้ว ในต่างประเทศนิยมใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กันมาก แต่ในประเทศ ไทยยังใช้กันน้อย ทั้งนี้เนื่องจากราคายังสูงอยู่ ถ้าสามารถลดต้นทุนการผลิตลง และราคาข้าวโพดอยู่ใน ระดับพอสมควร อาจมีการใช้เลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น


การศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน




ปัจจุบันพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานในประเทศไทยมีประมาณ 737,500 ไร่ ผลผลิต(ทั้งเปลือก) ประมาณ 1.48 ล้านตัน จากในปี 2545 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 200,000 ไร่ ผลผลิต(ทั้งเปลือก)ประมาณ 400,000 ตัน เนื่องจากหลากหลายปัจจัยหนุน กล่าวคือ การส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้บรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจผักและผลไม้กระป๋องหันมาเพิ่มสายการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน และจำนวนผู้ประกอบการที่ผลิตข้าวโพดหวานสด แช่เย็นและแช่แข็งก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยผู้ประกอบการ เหล่านี้หันไปลงทุนส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกข้าวโพดหวานในลักษณะตลาดข้อตกลง โดยเฉพาะในเขต ภาคเหนือ ซึ่งในระยะ 4 ปีที่ผ่านมาผลผลิตข้าวโพดหวานในภาคเหนือเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวทุกปีทำให้ ในปัจจุบันแหล่งปลูกข้าวโพดหวานที่สำคัญของไทยอยู่ทางภาคเหนือ จากเดิมแหล่งปลูกจะอยู่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และมหาสารคาม และภาคตะวันตกใน จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี และสมุทรสาคร ปัจจุบันจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ ข้าวโพดหวานมีประมาณ 30 โรงงาน

ข้าวโพดหวานที่จำหน่ายในตลาดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1.ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูป ในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมาปริมาณการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อนำ ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพดแปรรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลผลิตข้าวโพดหวานในประเทศ ร้อยละ 95 จะส่งเข้าโรงงานเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพด และที่เหลืออีกร้อยละ 5 ส่งเข้าโรงงานผลิต ข้าวโพดสดแช่เย็นแช่แข็ง คาดการณ์ว่าในปี 2548 ปริมาณการผลิตข้าวโพดหวานในส่วนนี้เท่ากับ 141,200 ตัน เมื่อเทียบกับในปี 2547 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ปริมาณข้าวโพดหวานที่ผลิตได้ในแต่ละปีประมาณ ร้อยละ 94 ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 6 เป็นการบริโภคในประเทศ

การส่งออกข้าวโพดหวานแปรรูปมีทั้งในรูปของเมล็ดข้าวโพดหวานในน้ำเกลือ(Whole Kernel Corn) และซุปข้าวโพด(Cream Style Corn) ซึ่งข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ ว่าในปี 2548 มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 3,500 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2547 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 ตลาดส่งออกสำคัญคือ สหภาพยุโรปมีสัดส่วนตลาดประมาณร้อยละ 50.0 ส่วนตลาดที่มีความสำคัญรอง ลงมาและมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงคือ เกาหลีใต้ รัสเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ คาดว่าในอนาคต ตลาดเหล่านี้จะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นทดแทนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปที่เริ่มมีปัญหา โดยผลิตภัณฑ์ ข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดบางส่วนจากสหรัฐฯมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากราคา ข้าวโพดหวานแปรรูปคุณภาพดีของไทยนั้นมีราคาถูกกว่าของสหรัฐฯประมาณร้อยละ 20 และคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยนั้นดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งขัน

อย่างไรก็ตามสิ่งที่พึงระวังของการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูป คือ

1.การแข่งขันกันเองของผู้ส่งออกของไทยที่ผลิตข้าวโพดหวานคุณภาพปานกลางและต่ำ ซึ่งจะเป็น ตัวดึงราคาข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยในอนาคต และอาจจะส่งผลกระทบถึงภาพลักษณ์โดยรวมของ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปส่งออกโดยรวมของไทย ถ้ามีการปฏิเสธการนำเข้าผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน แปรรูปของไทย เนื่องจากสินค้าของผู้ผลิตบางรายคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่ประเทศนำเข้ากำหนดไว้ และ ผู้ส่งออกมีการตัดราคาจำหน่ายแข่งขันกันเอง ซึ่งอาจจะส่งผลเสียในระยะยาว โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่ามีกระแสข่าวว่าผู้ผลิตข้าวโพดกระป๋องในสหภาพยุโรปเตรียมจะฟ้องร้องเพื่อให้เปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าข้าวโพดกระป๋องที่ส่งออกจากไทย หลังพบว่าการส่งออกจากไทยเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว และมีราคาต่ำ ทำให้ผู้ผลิตภายในของสหภาพยุโรปได้รับผลกระทบ

2.การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปไปยังสหภาพยุโรปลดลง อันเนื่องจากการที่ฮังการี ซึ่ง เป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปอันดับหนึ่งของโลกเข้าไปเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปในเดือนพฤษภาคม 2547 ทำให้สหภาพยุโรปหันไปนำเข้าจากฮังการีมากยิ่งขึ้น

3.ข้าวโพดหวานสดแช่เย็นแช่แข็ง ในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมาปริมาณการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อนำ ไปผลิตเป็นข้าวโพดหวานสด แช่เย็นและแช่แข็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าในปี 2548 ปริมาณการผลิตข้าวโพดหวานในส่วนนี้เท่ากับ 6,145 ตัน เมื่อเทียบกับในปี 2547 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 ปริมาณข้าวโพดหวานที่ผลิตได้ในแต่ละปีประมาณร้อยละ 90 ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ส่วนที่เหลือ อีกร้อยละ 10 เป็นการบริโภคในประเทศ



ตัวอย่างผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปลรูป

ที่มา http://malee-nanrigter.blogspot.com/

ที่มา http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=D9AB4388EADABA1A66A070D6A5A2CA50



ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์

1. การป้องกัน (Protection) เช่น กันน้ำ กันความชื้น กันแสง กันแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงหรือต่ำด้าน ทานมิให้ผลิตภัณฑ์แปรสภาพไม่แต่ไม่ฉีกขาดง่าย ปกป้องให้สินค้าอยู่ในสภาพใหม่สดอยู่ในสภาวะแวด ล้อมของตลาดได้ในวงจรยาว โดยไม่แปรสภาพขนานแท้และดั้งเดิม
2. การจัดจำหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออำนวย การแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่งและการคลัง สินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชำรุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้
3. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการ จัดรายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด
4. การบรรจุภัณฑ์กลมกลืนกับสินค้า และกรรมวิธีการบรรจุ (Packaging) เหมาะสมทั้งในแง่การ ออกแบบ และเพื่อให้มีโครงสร้างเข้ากับขบวนการบรรจุ และเอื้ออำนวยความสะดวกในการหิ้ว – ถือกลับ
บ้าน ตลอดจนการใช้ได้กับเครื่องมือการบรรจุที่มีอยู่แล้ว หรือจัดหามาได้ ด้วยอัตราความเร็วในการผลิต ที่ต้องการ ต้นทุนการบรรจุภัณฑ์ต่ำหรือสมเหตุสมผล ส่งเสริมจรรยาบรรณและรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ก่อ ให้เกิดมลพิษและอยู่ในทำนองคลองธรรมถูกต้องตามกฎหมายและพระราชบัญญัติต่าง ๆ
5. เพิ่มยอดขาย เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ใดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้ง การลดต้นทุนการผลิต


ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ใส่วุ้นทั่วไป
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...